ช่วงล่าง...! ทำไมต้องปรับ...ปรับทำไม...? สำคัญแค่ไหน มาดูกัน

        เรื่องของสมรรถนะการขับขี่ ช่วงล่าง ถือเป็นหัวใจหลักของการทรงตัวไม่ว่าจะเป็นการขับขี่ทางตรงหรือว่าทางโค้ง ทางตรงที่ดูเหมือนจะไม่มีอะไรแต่ช่วงล่างหรือว่า โช๊คอัพ (Shock Absorber) ก็ยังต้องคอยทำหน้าที่ในการซับแรงกระแทก ส่วนทางโค้งจะให้ความรู้สึกถึงระบบการทำงานที่มากขึ้นเพราะด้วยองศาการเอียงของรถที่มีแรงบวกจากกำลังของเครื่องยนต์ส่งไปที่ล้อ ทำให้ช่วงล่างจะมีการทำงานหนักมากกว่าการวิ่งทางตรง อาการของรถสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นสภาพถนนที่ขรุขระ สภาพยางที่อาจจะใกล้หมดสภาพรวมไปถึงแรงดันลมยางด้วย และสุดท้ายน้ำหนักของผู้ขับขี่และพฤติกรรมของผู้ขับขี่ ทุกอย่างคือปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของช่วงล่าง ความร้อนคืออีกตัวการหนึ่งที่ทำให้ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เมื่อช่วงล่างรับน้ำหนักหรือมีการทำงานยาวนานน้ำมันไฮดรอลิคภายในกระบอกโช๊คจะเกิดอาการเฟด (Fade) หรือว่าความร้อนทำให้โช๊คเกิดอาการย้วยได้เหมือนกัน ถ้าเป็นการใช้งานปรกติหรือว่าการขับขี่ทั่วไปก็อาจจะไม่ค่อยเห็นผลสักเท่าไหร่กับอาการโช๊คเกิดความร้อนหรืออาการเฟด แต่ถ้าเป็นการแข่งขันนั้นจะเห็นผลแน่นอน ทั้ง 2 รูปแบบก็จะมีวิธีการปรับเซตที่ไม่ต่างกันสามารถนำมาปรับใช้ด้วยกันได้ ในรายละเอียดของการปรับช่วงล่างจะมีค่อนข้างเยอะรวมไปถึงเรื่องของการบำรุงรักษา เอาเป็นว่าตอนนี้เรามาดูเบื้องต้นก่อนดีกว่าที่ผู้ใช้รถสามารถนำไปใช้ได้ไม่ยาก

108870        การทำงานของช่วงล่างไม่ว่าจะเป็นรถประเภทไหนก็จะมีหน้าที่เหมือนกันจึงขอแยกออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ การทำงานของสปริงที่จะเป็นตัวรับน้ำหนัก ส่วนการทำงานตัวโช๊คจะทำหน้าที่ในการซับแรงกระแทก การทำงาน 2 ส่วนนี้จะต้องทำงานไปพร้อมๆ กัน รถที่ออกมาจากโรงงานก็จะเน้นการขับขี่ที่นุ่มนวลเป็นหลักจึงถูกตั้งค่ากลางเอาไว้ อย่างที่บอกก็คือน้ำหนักของผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้ายจะมีผลต่อการทำงานของโช๊คทันที เมื่อโช๊ครับน้ำหนักมากขึ้นโช๊คจะยุบตัวเยอะและจะเกิดอาการย้วยได้ จะทำให้รถควบคุมยากขึ้นโดยเฉพาะช่วงเข้าโค้ง แล้วถ้าเป็นแบบนี้จะปรับตรงไหนก่อนดี...??? 

MW-ZX10R-2016-3รูปจาก: https://www.bigbikeinfo.com/kawasaki/price-ninja-zx10r-krt-replica

       อันดับแรกเลยก็ควรจะปรับที่ค่าแซก (Sag) หรือ พรีโหลด (Preload) ก่อนเพื่อดูว่าช่วงยุบมีเท่าไหร่ โดยจะต้องมีคนช่วยวัดความสูงของรถในขณะที่โช๊คยืดสุดตัวหรือว่าวัดตอนล้อลอยนั้นเอง เมื่อวัดได้ค่าแล้วก็จดเอาไว้ แล้วคราวนี้ก็ลองเอารถลงพื้นแล้วให้ผู้ขับขี่ขึ้นนั่ง ถ้ามีผู้ซ้อนท้ายด้วยก็ต้องให้นั่งด้วยพร้อมกับสัมภาระทั้งหมดเพื่อวัดดูระยะยุบนั้นเอง เมื่อได้ค่าแล้วก็ให้จดเอาไว้  การวัดจะต้องกำหนดตำแหน่งจากจุดใดจุดหนึ่ง อย่างเช่นใช้สายวัดจากตรงกลางดุมล้อขึ้นไปที่ใต้บังโคลน ก็จะต้องวัดจากตำแหน่งเดิมทั้ง 2 แบบเช่นกัน เมื่อได้ค่าทั้ง 2 แบบแล้วก็นำมาลบกันจะได้ค่ากลางที่เหมาะกับการขับขี่ การปรับจะต้องปรับทั้ง 2 ข้างให้เท่ากัน การปรับควรใช้ค่ามาตรฐานเป็นศูนย์กลางในการปรับ ถ้าอยากให้แข็งก็ไม่ควรเกิน 100 มม. และถ้าอยากจะนิ่มก็ปรับได้เกิน 100 มม.

81923

        เมื่อได้ค่า Sag มาแล้ว แต่ถ้าหากยังรู้สึกว่ารถยังแข็งกระด้างหรือว่ามีอาการส่าย ก็ต้องมาปรับที่รีบาวน์ (Rebound) และคอมเพรสชั่น (Compression) เพิ่มเติมเพื่อให้โช๊คมีการยุบและคืนตัวที่พอดีการทำงานของโช๊คโดยปกติแล้วควรจะยุบตัวได้เร็วและคืนตัวได้ช้า โช๊คหลายรุ่นจะมีตัวหมุนให้ปรับได้ง่าย การปรับรีบาวน์และคอมเพรสชั่นจะมีลักษณะหมุนตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกาและนับเป็น “ 1 คลิก” เพื่อให้เราเข้าใจกันได้ง่าย การปรับรีบาวน์ควรหมุนไปตามเข็มนาฬิกาให้สุดก่อนแล้วค่อยๆ ปรับหมุนทวนเข็มนาฬิกาออกมาเพื่อลดค่ารีบาวน์ ปรับไปจนรู้สึกว่าพอดีกับตัวเรา เช่นเดียวกับการปรับคอมเพรสชั่นที่ปรับเพื่อให้โช๊คมีการยุบตัวที่เร็วขึ้น การปรับคอมเพรสชั่นจะเป็นการปรับให้วาล์วน้ำมันเปิดกว้างมากขึ้น เป็นการเปิดทางให้น้ำมันไฮดรอลิคสามารถไหลผ่านได้เร็ว เมื่อโช๊คมีการยุบตัวที่เร็วขึ้นก็จะเป็นการช่วยซับแรงกระแทกให้กับผู้ขับขี่ การปรับก็จะเป็นตัวหมุนที่นับเป็น “1 คลิก” เช่นกัน หมุนตามเข็มนาฬิกาคือปรับให้ยุบได้เยอะ และถ้าต้องการปรับให้หนืดก็หมุนทวนเข็มนาฬิกานั้นเอง จะคลิกมากหรือน้อยก็แล้วแต่รุ่นที่จะผลิตออกมา นี่เป็นการปรับเซตโช๊คอัพจากรถทั่วไป ถ้าลงไปขี่ในสนามก็สามารถนำวิธีนี้ไปปรับได้ ส่วนมากแล้วรถบิ๊กไบค์ของคาวาซากิในหลายๆ รุ่นก็สามารถปรับค่าๆ ต่างได้

108871 และในหลายรุ่นที่สามารถปรับได้ทั้งโช๊คหน้าและโช๊คหลังอย่าง Ninja ZX10R หรือ Ninja H2 ยิ่งไปกว่านี้คาวาซากิได้พัฒนาไปถึงระบบโช๊คไฟฟ้าที่สามารถคำนวณและสามารถซับแรงกระแทกได้ในขณะขับขี่ อย่างเช่น Ninja ZX10R SE อีกหนึ่ง DNA แชมป์โลก และ Ninja H2 SX SE

       ส่วนรถสไตล์เอ็นดูโร่ที่สามารถปรับช่วงล่างได้ทั้งโช๊คหน้าและหลังจะเป็น KLX 250 ยิ่งถ้าเป็นรถแข่งแล้วบอกได้เลยว่าช่วงล่างรถแต่ละคันแข็งมากถ้าเทียบกับรถบ้าน แต่ว่านักแข่งแต่ละคนก็จะมีสไตล์การเซตที่ไม่เหมือนกันกับน้ำหนักตัวและสไตล์การขับขี่ รายละเอียดตรงนี้จะลึกไปถึงเรื่องการใช้เบอร์ของน้ำมันและปริมาณน้ำมันกับสปริงที่ใช้ที่มีค่า K ต่างกัน ในเกมการแข่งขันช่วงล่างถือว่าทำงานหนักมาก สำหรับอย่างเราๆ ก็ปรับให้เข้ากับตัวเราเองให้มากที่สุดแล้วคุณจะรู้สึกสนุกกับการขับขี่มากขึ้นนั่นเอง

pmcyos3r.zxp 


เครดิตขักเขียน 2_-2

 

ติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง

New call-to-action           New call-to-action     New call-to-action